ลักษณะของโรงเรียนมอนเตสซอรี่

1. สิ่งแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้
    1.1 สิ่งแวดล้อมที่เด็กเป็นศูนย์กลาง

         • กิจกรรมเน้นไปที่การเรียนรู้ของเด็ก ไม่ใช่การสอนของครู
         • เด็กทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่เลือกเอง
         • ในชั้นเด็กอายุ 2- 6 ปีมีการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมดน้อยมาก แต่ในระดับประถมจะเห็นเด็กเรียนและทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ 
           มากขึ้น
    1.2 สิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมอย่างเชื้อเชิญ
          • สิ่งแวดล้อมถูกออกแบบให้เข้ากับความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ และพัฒนาการของเด็ก
          • ครูออกแบบและดัดแปลงสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับเด็ก ปรับเปลี่ยนสื่อ สภาพห้องเรียน และบรรยากาศ 
            อารมณ์ของห้องให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนไปของเด็ก
     1.3 สนใจความก้าวหน้าพัฒนาการของแต่ละคน 
          • เด็กพัฒนาไปเร็ว-ช้าตามจังหวะของตน เลือกงานที่ท้าทายมากขึ้นเมื่อพร้อม
          • ขณะที่เด็กอยู่ในกลุ่มใหญ่ แต่ละคนจะถูกมองอย่างเป็นปัจเจก

2. กิจกรรมการเรียนรู้
    2.1 Hands-on activities กิจกรรมใช้มือ
         • การเรียนรู้เกือบทุกอย่างในห้องเรียนผ่านการสัมผัสของจริงด้วยมือ หรือ มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ที่นำไปสู่ความคิดที่เป็นนามธรรม 
         • ไม่ค่อยใช้หนังสือเรียนหรือแบบฝึกหัด
    2.2 Spontaneous work งานที่เกิดขึ้นเอง
         • ธรรมชาติของเด็กชอบที่จะเลื้อยไหล สัมผัส สำรวจโลกรอบๆ ตัวเขา
         • ห้องเรียนมอนเตสซอรี่ให้เด็กเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ภายใต้ขอบเขตของพฤติกรรมที่เหมาะสม
         • ส่วนใหญ่เด็กเลือกงานที่ตัวเองสนใจ โดยครูเองก็จะพยายามที่จะมองหาและเรียกร้องความสนใจ ของเด็กด้วยการท้าทาย ตั้งข้อสงสัยหรือตั้งคำถาม
         • ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมที่เลือกเอง สุดท้ายนักเรียนจะได้ทักษะพื้นฐาน ถึงแม้ว่าพยายามจะหลีกเลี่ยงก็ตาม
    2.3 Active learning เรียนรู้ด้วยตนเอง
         • นอกจากเลือกงานเองแล้ว เด็กยังทำงานเองได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลับมาทำงานเดิมอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน จนกระทั่งงานนั้น “ง่ายเกินไป” และสามารถสอนเด็กที่เล็กกว่าได้ 
           ซึ่งเป็นวิธีการประเมินหนึ่งที่ครูมอนเตสซอรี่จะบอกว่าเด็กชำนาญในทักษะนั้นแล้ว
    2.4 Self-directed activity
         • หลักการหนึ่งของมอนเตสซอรี่คือ เด็กมีแรงจูงใจจากความต้องการภายในของตนเองที่ต้องการจะเป็นอิสระและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เชี่ยวชาญทักษะใหม่ๆ   
           เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจจากภายนอก ซึ่งอาจจะทำให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ต้องพึ่งพาผู้อื่นในทุกๆ 
           เรื่องตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยส่วนตัวของตนไปจนถึงการรอคำอนุญาตเพื่อทำตามความฝัน
    2.5 Freedom within limit อิสรภาพภายใต้ขอบเขต
         • เด็กมอนเตสซอรี่สนุกกับการเคลื่อนไหวและการเลือกได้อย่างอิสระ แต่อิสรภาพนั้นมีขอบเขตซึ่งเป็นกรอบที่ถูกกำหนดอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ความรับผิดชอบและพฤติกรรม  
           เด็กมีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ที่เหมาะสมกับกฎระเบียบของชุมชนนั้นๆ แต่จะถูกดึงกลับมาโดยทันทีถ้าเขาทำเกินขอบเขต
    2.6 Internal motivation แรงจูงใจจากภายในที่จะเรียน
         • ในมอนเตสซอรี่ เด็กไม่ได้ทำงานเพื่อคะแนนหรือรางวัลจากภายนอก หรือแม้แต่ไม่ได้ทำงานให้เสร็จเพราะครูมอบหมายงานให้ทำ  เด็กๆ เรียน เพราะเขามีความสนใจในสิ่งนั้น  
           และเพราะว่าเด็กทุกคนมีความเหมือนกันในแง่ที่ ปรารถนาที่จะเป็นมนุษย์ที่มีทั้งความสามารถและเป็นอิสระ

3. ชุมชนผู้เรียนของมอนเตสซอรี่
    3.1 คละอายุ
         • ห้องเรียนมอนเตสซอรี่มีเด็กคละอายุตั้งแต่ 2 -3 ระดับ เป็นลักษณะของครอบครัว
         • เด็กๆ จะอยู่ด้วยกันหลายปี โดยเด็กโตสุดจะย้ายระดับขึ้นไปตอนปลายปี
    3.2 รูปแบบครอบครัว
         • ห้องเรียนเป็นชุมชนของเด็กและผู้ใหญ่
         • เมื่อเด็กโตขึ้นและมีความสามารถมากขึ้น เขาจะมีบทบาทมากในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและสนองความต้องการของเด็กที่เล็กกว่าในห้อง
         • จุดสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ครู แต่อยู่ที่ชุมชนทั้งหมด ที่มีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก คล้ายกับการอยู่ร่วมกันในครอบครัว
    3.3 การร่วมมือช่วยเหลือกันมากกว่าการแข่งขัน
         • เด็กมอนเตสซอรี่จะได้รับการส่งเสริมให้ปฏิบัติต่อกันด้วยความอ่อนโยนและความเคารพกัน
         • พฤติกรรมการดูถูก และการรังเกียจกันไม่ค่อยพบ แต่จะพบว่าเด็กๆ ชอบพอกัน และปราศจากการแข่งขัน หรือการทำตัวเหนือกว่าคนอื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจและชื่อเสียง  
           ทั้งนี้เพราะเด็กเรียนตามความสนใจ ตามวิถีเร็วช้าของตน และครูหลีกเลี่ยงที่จะเปรียบเทียบเด็กซึ่งกันและกัน
 
4. ครูมอนเตสซอรี่
    4.1 อำนาจ
         • ครูจะหนักแน่นในกรอบนอก และมีความเข้าอกเข้าใจ มีความเมตตาอยู่ข้างใน   เป็นผู้ใหญ่ที่ตอบสนองต่อความรู้สึกเด็กอย่างเข้าใจ มีขอบเขตที่ชัดเจนและปฏิบัติต่อเด็กด้วยความสม่ำเสมอ
    4.2 ผู้สังเกตการณ์
         • ครูมอนเตสซอรี่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสังเกตการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็ก
         • ครูจะสังเกตเด็กอย่างรอบคอบ จดบันทึกและใช้อ้างถึงในแง่พัฒนาการ ซึ่งบันทึกนี้จะช่วยชี้นำให้ครูรู้ว่าเมื่อไหร่จึงจะเข้าแทรกแซงการเรียนรู้ด้วยบทเรียนใหม่ๆ  การท้าทายใหม่ๆ  หรือ การเพิ่มเติมกฎระเบียบพื้นฐานในห้องเรียน
    4.3 แหล่งเรียนรู้
         • ครูเป็นผู้ประสานกระบวนการเรียนรู้ โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางให้เด็กเข้ามาหา ในขณะที่เด็กเป็นผู้รวบรวมข้อมูล รวบรวมความประทับใจ และประสบการณ์
    4.3 ต้นแบบ
         • ครูมอนเตสซอรี่ทำตัวเป็นแบบอย่างทั้งในด้านพฤติกรรมและเจตคติในการทำงาน เพื่อที่จะปลูกฝังสิ่งนั้นในเด็ก
         • มอนเตสซอรี่เน้นไปที่การพัฒนาบุคลิกภาพ  เพราะฉะนั้นครูมอนเตสซอรี่จึงมักจะ สงบ ใจดี ดูอบอุ่น และสุภาพต่อเด็กทุกคน
 
5. ครูมอนเตสซอรี่ทำอะไร
    5.1. อยู่กับเด็กด้วยความเคารพ
          • ครูมอนเตสซอรี่รู้ว่าบทบาทของตนเองไม่ใช่การสอน  แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ เป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง และช่วยประสานกระบวนการเรียนรู้ 
          • การทำงานเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริงเป็นเรื่องของเด็กแต่ละคน
          • ครูมอนเตสซอรี่จะต้องคำนึงถึงบทบาทตนเองอยู่เสมอที่จะเป็นผู้ช่วยให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพในความเป็นมนุษย์และเป็นผู้สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้จากภายใน โดยที่เด็กๆ จะรู้สึกปลอดภัย 
            มีความหวัง และรู้สึกได้รับอำนาจ
    5.2 ประสาน “ความเข้ากันได้” ระหว่างผู้เรียนและความรู้
         • ครูมอนเตสซอรี่ได้รับการฝึกมาที่จะสนองตอบอย่างดีที่สุด ต่อความสนใจและความต้องการที่เปลี่ยนไปของเด็กเป็นรายบุคคล
         • ครูยอมรับว่าเด็กเรียนรู้ได้หลายวิธีและมีจังหวะการเรียนเร็วช้าไม่เท่ากัน
         • ครูต้อง “Follow the child” ปรับกลยุทธ์ และตารางเวลาของครูเองเพื่อให้เข้ากับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
    5.3 จัดเตรียมสิ่งแวดล้อม
         • ครูมอนเตสซอรี่เป็นผู้รวบรวมประสานโปรแกรมทางวิชาการตามระดับพัฒนาการเด็ก ให้เข้ากับระบบในห้องเรียน โดยการออกแบบห้องเรียน เลือกและจัดระบบกิจกรรมการเรียนรู้ 
           และตารางของแต่ละวัน
Visitors: 39,656